Old_dhammayut_seal

ธรรมยุติกนิกาย

DHAMMAYUT

คณะธรรมยุต

พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า คณะธรรมยุต นั้นคือ พระสงฆ์ที่ออกมาจากคณะสงฆ์ของไทยนั้นเอง แต่ได้รับการอุปสมบทซ้ำในรามัญนิกายด้วย อันเป็นผลเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเมื่อยังทรงผนวชอยู่ ทรงศึกษาพระไตรปิฎก และทรงปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ไทยในครั้งนั้นให้ถูกต้องตามธรรมวินัยยิ่งขึ้น โดยทรงเริ่มปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระองค์ขึ้นก่อนเป็นประเดิม ตามความรู้ที่ได้ทรงศึกษามาจากพระไตรปิฎก  ภายหลังจึงมีภิกษุอื่นๆ เกิดความนิยมนับถือแล้วถวายตัวเป็นศิษย์ ปฏิบัติตามแบบอย่างที่พระสงฆ์หมู่หนึ่งที่ได้รับขนานนามว่า คณะธรรมยุต หรือธรรมยุติกนิกายในภายหลังต่อมา การเกิดขึ้นของคณะธรรมยุตจึงเนื่องด้วยพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและค่อยเป็นมาโดบลำดับ

พัฒนาการ

ตามความในพระราชประวัติแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเริ่มปรับปรุงแก้ไขการประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยในส่วนพระองค์ เพื่อให้ถูกต้องตามที่ทรงได้ศึกษาพิจารณามาตั้งแต่ผนวชได้ 2 พรรษา ขณะที่ยังประทับอยู่วัดมหาธาตุ และเริ่มมีสหธรรมิกอื่น ๆ นิยมปฏิบัติตามพระองค์ขึ้นบ้างแล้ว แต่ยังคงไม่มากนัก

ครั้นปี พ.ศ. 2372 อันเป็นปีที่ผนวชได้ 6 พรรษา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ มาถึงระยะนี้ คงมีภิกษุสามเณรที่นิยมการปฏิบัติตามอย่างพระองค์และมาถวายตัวเป็นศิษย์มากขึ้น จึงได้เสด็จจากวัดมหาธาตุกลับไปวัดสมอราย(วัดราชาธิวาส) อันเป็นวัดนอกกำแพงพระนครและเป็นวัดฝ่ายอรัญญวาสี หรือวัดป่า ที่มีชื่ออยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้ก็คงเพื่อความสะดวกพระทัย ในอันเป็นที่พระองค์พร้อมทั้งคณะศิษย์จะได้ประพฤติปฏิบัติ และบำเพ็ญกิจวัตรต่าง ๆ ทางพระธรรมวินัยที่เห็นว่าถูกว่าควรได้ตามประสงค์ แต่ศิษย์บางส่วนก็ยังคงอยู่ที่วัดมหาธาตุต่อมา

แม้เมื่อเสด็จมาประทับที่วัดสมอรายแล้ว การปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ในคณะของพระองค์ก็คงยังดำเนินไปได้ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะพระองค์มิได้ทรงเป็นอธิบดีสงฆ์แห่งสำนักนั้น ฉะนั้น ในขณะเมื่อประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุก็ดี ที่วัดสมอรายก็ดี ธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ที่พระองค์ได้ทรงพระราชดำริปรับปรุงแก้ไขขึ้นใหม่คงยังไม่ได้มีกำหนดเป็นรูปแบบที่ชัดเจนบริบูรณ์

ต่อเมื่อเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2379 แล้ว จึงปรากฏหลักฐานว่า ทรงตั้งธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ธรรมยุติขึ้นอย่างไรบ้าง ดังที่ปรากฏในตำนานวัดบวรนิเวศวิหารเป็นต้น

โดยที่พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เกิดขึ้นจากผลของการแสวงหาความถูกต้องตามพระธรรมวินัย เริ่มแต่การทรงศึกษาสอบสวน ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดมาจนถึงการศึกษาสอบสวนของพระเถรานุเถระผู้เป็นบูรพาจารย์แห่งคณะธรรมยุตเป็นลำดับมา

ธรรมเนียมและแบบแผน

ระเบียบแบบแผนในด้านการปฏิรูปทางพระพุทธศาสนาของธรรมยุติกนิกาย โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)

  1. ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เป็นประจำ และทรงพระราชนิพนธ์บทสวดเป็นภาษาบาลี เป็นคาถา เป็น จุณณิยบท ซึ่งใช้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีการรักษาศีลอุโบสถ และแสดงพระธรรมเทศนาเวลาสามโมงเช้าและบ่ายสามโมง ในวันธรรมสวนะและวันอุโบสถ เดือนละ 4 ครั้ง
  2. ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรมทรงเริ่มการเทศนาด้วยฝีพระโอษฐ์ ชวนให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายและเกิดศรัทธา ไม่โปรดเขียนหนังสือไว้เทศน์นอกจากนี้ยังทรงฝึกหัดศิษย์ให้ปฏิบัติตาม ทรงอธิบายเพื่อให้คนเข้าใจในเนื้อหาของหลักธรรม เผยแพร่หลักธรรมสู่ราษฎร อธิบายหลักอันยุ่งยากซับซ้อน คณะสงฆ์ธรรมยุติได้เพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทยลงไป ทำให้คนนิยมฟังเป็นอันมาก
  3. ทรงกำหนดวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนาเพิ่มขึ้นจากวันวิสาขบูชา ทรงพระราชนิพนธ์คำบูชา และวางระเบียบให้เดินเวียนเทียนและสดับพระธรรมเทศนา ทรงชักนำให้บำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น ถวายสลากภัตร ตักบาตรน้ำผึ้ง ถวายผ้าจำนำพรรษา
  4. ทรงแก้ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ คือเริ่มแต่การซัก ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียวกัน
  5. ทรงแก้ไขการขอบรรพชา และการสวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เช่น ระบุนามอุปสัมปทา และนามอุปัชฌายะ ซึ่งเป็นภาษาบาลีในกรรมวาจา การออกเสียง อักษรบาลี ทรงให้ถือหลักการออกเสียงให้ถูกฐานกรณ์ของอักขระตามหลักบาลีไวยากรณ์
  6. ทรงวางระเบียบการครองผ้า คือการนุ่งห่มของภิกษุสามเณร ให้ปฏิบัติไปตามหลักเสขิยวัตรในพระวินัยเพื่อให้สุภาพเรียบร้อย (เดิมพระธรรมยุติครองจีวรห่มม้วนซ้าย แต่ตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนมาห่มห่มม้วนขวา (ห่มมังกร) ตามแบบพระสงฆ์มหานิกาย ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ จึงได้กลับมาห่มม้วนซ้ายตามเดิม) ทรงวางระเบียบการกราบไหว้ของพระภิกษุสามเณร และระเบียบอาจารยะมารยาท ต้องวางตัวให้น่าเลื่อมใสศรัทธา สังวรในกิริยามารยาทและขนบธรรมเนียม
  7. ทรงให้พระสงฆ์ธรรมยุติ ศึกษาพระปริยัติธรรมให้แตกฉาน สามารถแสดงธรรมเทศนา สั่งสอน สามารถแยกระหว่างความเชื่อที่มีเหตุผล และความเชื่อในสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ การศึกษาในด้านวิปัสสนาธุระ ไม่ใช่รับรู้เฉพาะสมถะวิธีอันเป็นเบื้องต้น แต่ให้รับรู้ไปถึงขั้นวิปัสสนากรรมฐาน การปฏิบัติตามพระวินัย ทรงให้ถือหลักว่าสิ่งใดที่สงสัยและน่ารังเกียจไม่ควรกระทำโดยเด็ดขาด พึงเคารพพระวินัยอย่างเคร่งครัด
  8. ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหา ความรู้สาขาอื่น ๆ ของพระสงฆ์ จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวล (Reverend Jesse Caswell) ตามความสนใจ ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน

ผู้ปกครองคณะธรรมยุต

yellow-2

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

ภาค1-2-3f copy

พระเทพพัชราภรณ์ (สมพงษ์ ฐิตวํโส)

เจ้าคณะภาค ๑-๒-๓

A copy

พระธรรมวชิรเมธาจารย์

(ยุทธศักดิ์ กิตฺติยุตฺโต ป.ธ.๖)

เจ้าคณะภาค ๔-๕

เจ้าคณะภาค6-7

พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย)

เจ้าคณะภาค ๖-๗

yellow-2

พระธรรมวชิรญาณโสภณ (ม.ล.คิวปิด ปิยโรจโน)

เจ้าคณะภาค ๘

ภาค9

พระเทพดิลก (วัชรพันธ์ นนฺทิโย)

เจ้าคณะภาค ๙

ภาค10

พระพรหมวชิรวิมล (แสวง ธมฺเมสโก)

เจ้าคณะภาค ๑๐

ภาค11-1

พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม)

เจ้าคณะภาค ๑๑

ภาค16-1

พระเทพสิริวชิรเวที (ไมตรี ปภารตโน)

เจ้าคณะภาค ๑๖

ภาค12-13f copy

พระราชเมธากรกวี (วินัย ถิรวินโย)

เจ้าคณะภาค ๑๒-๑๓

ภาค17-18-1

พระเทพมงคลโสภณ (โสภณ ปญฺญาโสภโณ)

เจ้าคณะภาค ๑๗-๑๘

ภาค14-15-1

พระเทพวชิรปาโมกข์ (อาชว์ อาชฺชวปเสฏโฐ)

เจ้าคณะภาค ๑๔-๑๕

ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร

Awkward but social

Scroll to Top